รู้ไว้ไม่เสียหาย วิธีดูแลผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมอย่างถูกวิธี

 

 

อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า โรคข้อเสื่อม นั้นเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดได้ง่ายกับผู้ที่มีอายุหลัก 30 ปีขึ้นไป และรักษาให้หายขาดอาจจะต้องใช้ระยะเวลานาน หากผู้อ่านท่านใดมีบุคคลในครอบครัวที่กำลังประสบกับโรคข้อเสื่อม บทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ทุกท่านอย่างยิ่ง ที่จะเรียนรู้วิธีดูแลกับผู้ที่เป็นโรคข้อเสื่อมอย่างถูกวิธี

 

ทำความเข้าใจกับโรคข้อเสื่อมให้ดีเสียก่อน

 

 

 

หากว่าคุณกำลังจะต้องดูแลญาติหรือคนในครอบครัวที่ประสบปัญหากับโรคข้อเสื่อมนั้น อันดับแรกเลย คือคุณจะต้องเตรียมให้พร้อมทางด้านข้อมูล โดยหาได้จากเว็บไซต์ บทความ หรือหนังสือสุขภาพ ที่มีพร้อมให้คุณรับข้อมูลอย่างแพร่หลาย แต่อาจจะต้องหาช่องทางหรือแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือได้ว่าข้อมูลดังกล่าวนั้นถูกต้อง เพราะการรักษาโรคข้อเสื่อมค่อนข้างที่จะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน หากคุณรับแหล่งข้อมูลมาผิด ๆ แล้วมาดูแลผู้ป่วยก็อาจจะจะส่งผลเสียอย่างมาก อันดับต่อมาที่จะต้องเตรียมคือ เวลา คุณจำเป็นต้องมีเวลาให้กับผู้ที่เป็นโรคข้อเสื่อม โดยอาจจะแบ่งเวลาดูแลที่สะดวกในการพาผู้ป่วยมาทำกายบริหารบริเวณที่โล่งแจ้ง อาจจะเลือกเวลาช่วงเช้าตรู่หรือช่วงเย็น เพราะเป็นเวลาที่อากาศไม่ร้อนจนเกินไป อันดับสุดท้ายสำหรับการเตรียมพร้อมดูแลผู้เป็นโรคข้อเสื่อมคือ ปรับอารมณ์ของตนเอง แน่นอนว่าการดูแลผ็ป่วยที่เป็นโรคข้อเสื่อม อาจจะต้องอาศัยการช่วยเหลือพอสมควร เนื่องจากผู้ป่วยขยับร่างกายตนเองได้ลำบาก ดังนั้น ผู้ที่ดูแลควรจะต้องปรับอารมณ์เพื่อพร้อมดูแลผู้ป่วยอย่างเต็มที่ ดูแลด้วยความเข้าใจ เพราะหากคุณไม่มีความเต็มใจ หรือแสดงอารมณ์ไม่เหมาะสมในการดูแล นั่นอาจจะส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วย ดังนั้น สิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมสำหรับการดูแลผู้ป่วยมีทั้งสิ้น 3 อย่างด้วยกันคือ ข้อมูล เวลา และอารมณ์

 

วิธีทำกายบริหารสำหรับผู้เป็นโรคข้อเสื่อมอย่างถูกวิธี

 

 

 

ในการพาผู้ป่วยทำกายบริหารนั้นไม่ยากอย่างที่หลายท่านคิด ในปัจจุบันมีหนังสือ หรือบทความแนะนำการทำการบริหารที่ถูกวิธีมาให้คุณได้ศึกษาเพื่อนำไปดูแลผู้ป่วยอย่างมากมาย ในบทความนี้จะนำตัวอย่างวิธีการทำกายบริหารง่าย ๆ สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเสื่อมบริเวณเข่ามาสาธิตให้ดู เริ่มต้นจาก
ท่าที่ 1 : พาผู้ป่วยนั่งชิดเก้าอี้ พร้อมกับเหยียดหัวเข่าอยู่ในรูปตั้งตรง ขนานกับพื้นราบ แล้วให้ผู้ป่วยเกร็งค้างไว้ สัก 10 วินาที จากนั้นผ่อนคลายนำขาลงให้อยู่ในท่าปกติ นับเป็น 1 ครั้ง และจากนั้นเหยียดขึ้นใหม่ โดยทำสลับกันสองข้าง
ท่าที่ 2 : จับผู้ป่วยนั่งไขว้ขาบนเก้าอี้ โดยกดขาบนของผู้ป่วยลง พร้อมกับยกขาล่างเหยียดเกร็งขึ้น ขนานกับพื้น ในลักลักษณะที่ไขว้กัน ทำเช่นนี้สลับกันทั้งสองข้าง สักข้างละ 10 วินาที กำลังเหมาะสม
ท่าที่ 3 : พาผู้ป่วยนอนหงายอยู่บนเตียง จากนั้นนำหมอนใบเล็ก มาวางไว้บริเวณใต้เข่า จากนั้นให้ผู้ป่วยเกร็จสะบ้า เหยียดเข่าตึง และผ่อนคลาย สลับกันไป ใช้เวลา 10 วินาทีต่อข้าง เหมือนเช่นเดิม
การแนะนำทำกายบริหารข้างต้นนี้ เป็นเพียงตัวอย่างง่าย ๆ ที่บทความนำมาแนะนำให้กับผู้ที่จำเป็นต้องดูแลผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมบริเวณหัวเข่า ซึ่งเป็นบริเวณที่มักจะเกิดขึ้นบ่อยกับผู้มีอายุ 30 ปีขึ้นไป

 

พาผู้ป่วยออกกำลังอย่างถูกประเภท

 

 

หากผู้ป่วยรู้สึกว่าอยากออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงแต่กังวลว่าจะกระทบต่อโรคข้อเสื่อม แนะนำให้ผู้ที่ดูแลพาผู้ป่วยมาออกกำลังกายด้วยการเล่นโยคะ ปั่นจักรยาน หรือว่ายน้ำ ซึ่งเป็นวิธีการออกกำลังกายที่ลดแรงกระแทกข้อต่อมากที่สุด หากเป็นกีฬาอื่นนอกเหนือจากนี้ ก็ควรที่จะหลีกเลี่ยง หรือหากเลี่ยงไม่ได้ก็ควรปรึกษาแพทย์เป็นกรณีไป

 

กำลังใจ ภูมิคุ้มกันชั้นดีที่จะช่วยให้คนที่คุณรักหายจากโรคข้อเสื่อมได้ไวขึ้น

 

 

จากที่กล่าวมาในบทความนี้ทั้งหมด ข้อสุดท้ายนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด นั่นก็คือ การให้กำลังใจผู้ป่วย ไม่ว่าผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมที่คุณดูแลอยู่จะเป็นญาติหรือคนในครอบครัว สิ่งที่เขาเหล่านี้อยากได้คือ กำลังใจ อย่างที่ทราบว่า โรคข้อเสื่อมเป็นโรคที่เกิดแล้วจะเรื้อรังรักษาให้หายขาดยาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่สามารถรักษาได้ คุณควรหมั่นให้กำลังใจ และมีความเชื่อมั่นร่วมกับผู้ป่วยว่าจะต้องหายกลับมาเป็นปกติ แค่นี้ก็ถือเป็นวิธีการรักษาทางด้านจิตใจที่จะช่วยให้ผู้ป่วยหายกลับมาเคลื่อนไหวใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุขอีกครั้ง

 

ดูแลผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมไม่ยากอย่างที่คิด ! แต่จะดีกว่านี้ถ้าวันนี้คุณมีตัวช่วยดี ๆ มาเสริมสร้างเพิ่มความแข็งแรงข้อเข่าสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยโรคข้อเสื่อม Wellnessmarkshop ขอแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ "ICHI Collagen" คอลลาเจนเปปไทด์จากปากน้ำจืด มีนวัตกรรม Bioactive ดูดซึมดีและเสริมสร้างร่างกายให้สามารถผลิตคอลลาเจนได้เอง อย่ารอช้า มาเริ่มศึกษาหาตัวช่วยเพื่อช่วยคนที่คุณรักกันดีกว่า

 

 

อ่านบทความดีๆเพิ่มเติมได้ที่
Website :https://www.wellnessmarkshop.com/blog
Line@ : @wmshop
Tel : 02-123-1310